หลายคนมีคำถามว่าทำไมต้อง ฝึก EF ให้ลูกน้อย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก EF กันก่อน
EF คืออะไร ?
EF ( อีเอฟ) คืออะไร EF ย่อมาจาก Executive Functions ความหมายก็คือ ทักษะในการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง ซึ่งเป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้า อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งถือเป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต
ทั้งนี้ คนเราไม่ได้เกิดมาและมี EF ทันที แต่ EF เกิดจากการพัฒนาและฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการฝึก EF ของคนเรา คือช่วงวันเด็ก ตั้งแต่อายุ 4 – 6 ขวบ เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
10 ไอเดียกิจกรรม ฝึก EF
-
อ่านหนังสือหรือนิทาน
อาจกล่าวได้ว่า หนังสือคือเพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับทุกเพศทุกวัย อีกทั้งการอ่านหนังสือจะช่วยกระตุ้นสมองของเด็กให้มีจินตนาการและความคิดใหม่ๆอยูาตลอดเวลา นอกจากนี้หนังสือยังช่วยให้เด็กๆซึมซับข้อคิดดีๆหรือแนวทางปฏิบัติที่ควรจะเป็น สามารถคิดวิเคราะห์และนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหา การอ่านหนังสือกับลูกนอกจากจะได้ใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ร่วมกันแล้ว ยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ลูกจะมีความตั้งใจและคิดตาม ซึ่งจะช่วยฝึกให้เขามีสมาธิได้อีกทางหนึ่ง
แหล่งซื้อหนังสือเด็กออนไลน์
-
ปั้นดินน้ำมันหรือแป้งโดว์
งานปั้น นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการของเด็กแล้ว ยังถือเป็นการฝึกพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์อีกด้วย กล่าวคือ เป็นการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กได้อย่างดี อีกทั้งงานปั้น เป็นการพัฒนาทักษะทั้งทางมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กันได้ดียิ่งขึ้น พ่อแม่สามารถส่งเสริมการจดจำให้ลูกๆจากกิจกรรมนี้ โดยเริ่มปั้นจากรูปทรงต่างๆอย่างง่าย อาทิ วงกลม แล้วค่อยพัฒนาไปเป็นรูปทรงอื่นๆที่มีจินตนาการมากขึ้น เช่น รูปทรงสัตว์ รูปทรงผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
แหล่งซื้อแป้งโดว์ออนไลน์
-
เล่นดินหรือทราย
ทั้งนี้ประโยชน์จากการเล่นดิน เล่นทรายมีมากมาย ซึ่งอาจจำแนกได้เป็นข้อๆ ดังนี้
- เป็นการเล่นอย่างมีอิสระ (Free Play) : พ่อแม่อาจต้องยอมปล่อยให้เด็กๆได้เล่นเลอะเทอะตามตัวบ้าง เพราะการได้เล่นอย่างมีอิสระจะช่วยให้เด็กๆได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ Initiative อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นตัวช่วยระบายพลังส่วนเกินได้อย่างดี : โดยเฉพาะเด็กดื้อ เด็กซน หรือเด็กสมาธิสั้น การปล่อยให้เล่นได้อย่างเสรีในพื้นที่ของเขา โดยที่พ่อแม่ไม่ได้เข้าไปยุ่ง จะช่วยให้เขาเอาพลังส่วนเกินออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
- พัฒนา Autonomy : คือความมั่นใจในการควบคุมแขนขา เพราะเมื่อกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ใช้งานอย่างแข็งแรงก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางจิตวิทยา รวมถึงความสามารถในการควบคุมอึหรือฉี่ได้ดีขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเล่นดินหรือทรายจะดูเป็นการเล่นที่เด็กได้มีอิสระอย่างเต็มที่ แต่พ่อแม่ก็กำหนดพื้นที่หรือขอบเขตอย่างชัดเจน รวมถึงกำหนดเวลาในการเล่น และเมื่อหมดเวลาก็ควรฝึกให้ลูกทำตามกติกา คือ หยุดเล่นและไปอาบน้ำทำความสะอาดเนื้อตัว
หากท่านอยู่ในคอนโดหรือสถานที่ที่ไม่สามารถวางกระบะทรายได้ เราขอแนะนำทรายมหัศจรรย์ ที่สามารถเล่นในบ้านได้ ไม่ต้องกังวลเปื้อน เพิ่มความสนุกให้ลูกน้อยได้เช่นกัน
-
หัดปีนป่าย
การเล่นปีนป่ายถือเป็นการกระตุ้นให้เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อได้ทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักการทำงานร่วมกันของส่วนต่างๆในร่างกาย ยิ่งเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆพร้อมกันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าได้มากขึ้นเช่นกัน
-
ต่อบล็อก
ของเล่นเรียบง่ายแต่ช่วยให้เด็กน้อยได้พัฒนาสมองอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งเป็นตัวช่วยให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานมากยิ่งขึ้น
-
เล่นกีฬา
การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ทั้งต่ออร่างกายและจิตใจ ช่วยให้สุขภาพจิตดี ก่อให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออก และกระตุ้นการทำงานของสมองระดับสูงได้ดีมากยิ่งขึ้น
-
ระบายสี
การชวนลูกระบายสี ขีดๆเขียนๆ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความสามารถทางศิลปะ อีกทั้งสร้างความคุ้นชินกับการคิดนอกกรอบและได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆได้อย่างอิสระ
-
เล่นบทบาทสมมุติ
การเล่นบทบาทสมมุติ ลูกจะสามารถดึงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครและบทบาทนั้นๆ ทั้งคำพูด ท่าทาง การวางตัวมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ผ่านกระบวนการคิดตรึกตรอง นอกจากนี้การเล่นบทบาทสมมุติ ยังช่วยให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมได้ดีมากยิ่งขึ้น
-
เดิน-วิ่งเล่นในสวนหรือสนามหญ้า
พ่อแม่ลองหาเวลาพาลูกไปปลดปล่อยพลังในสวน หรือสนามหญ้า และปล่อยให้เขาได้เล่นอย่างเสรี การเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างมีอิสระ ให้เขาเป็นผู้กำหนดกติกาด้วยตัวเอง จะช่วยฝึกทักษะความเป็นผู้นำและการเคารพกฎเกณฑ์ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับการฝึก EF ให้ลูกน้อย
-
เล่นดนตรี
เด็กที่เล่นดนตรีจะสามารถใช้มือและตาประสานร่วมกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ดนตรียังเป็นเครื่องบำบัดทางอารมณ์ให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดทั้งหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่า ดนตรี เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการกระตุ้น EF ให้พัฒนาขึ้นเช่นกัน
Resources :
https://childdevelopmentinfo.com/child-development/play-work-of-children/pl5/#gs.qsdqjt
https://www.ukessays.com/essays/young-people/i
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128036761000106
Executive Function & Self-Regulation (harvard.edu)
Pingback: “เล่นกับลูก” นั้นสำคัญไฉน? ข้อดีมากมายเมื่อคุณใช้เวลากับลูกให้ถูกทาง
Pingback: รีวิว 5+1 ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กช่วงอายุ 6-12 เดือน เล่นสนุกได้ทุกวัน
Pingback: เบบี้บลูส์ (Baby blues) ทำไมฉันถึงอารมณ์ดิ่งดาวน์หลังคลอดลูก
Pingback: 8 เคล็ดลับ สร้างความสนิทกับลูกน้อย เพื่อครอบครัวที่อบอุ่น
Pingback: 5 ไอเดีย (ทิพย์) กิจกรรมกักตัวอยู่บ้านสำหรับเด็กๆ อยู่ที่ไหนก็สนุกและเรียนรู้ได้