Belkin Type-C ของมันต้องมีสำหรับผู้ใช้ Macbook

เบลคิน ไทป์ ซี

BELKIN TYPE-C MULTIFUNCTIONAL CONVERTER HUB 6-IN-1 (F4U092BTSGY) GRAY

TL;DR

  1. ถ้าอยากได้การเชื่อมต่อที่ครบในตัวเดียวซื้อได้เลย ราคาไม่ห่างจาก U-Green เท่าไร แต่ได้ของ Belkin (เบลคิน) ซึ่งเป็นยี่ห้อที่เชื่อใจได้มากกว่า
  2. ติดข้อจำกัดที่การต่อ HDMI 4K ได้ความถี่แค่ 30Hz ถ้าอยากได้ 60Hz เท่าที่เห็นยังมีแค่ของ Apple ที่รองรับ
  3. ถ้าคุณใช้ Macbook Pro/Air รุ่นที่เป็นสี Space Gray สีมันเข้ากันได้สวยมาก

"Belkin" ใน สายชาร์จ & อุปกรณ์ชาร์จไฟ

ถ้าพูดถึง USB type C หรือ USB-C ในปัจจุบันนี้ คาดว่าต้องมีผู้ที่เคยได้ยินชื่อมาบ้าง อาจมาจากผู้ที่ใช้ iPad Pro ที่เริ่มเปลี่ยนจากพอร์ต (port) Lightning มาเป็น USB-C ตั้งแต่ปี 2561 (จากจุดนี้เป็นต้นไป หน่วยของปีในบทความนี้จะเป็น พ.ศ. ทั้งหมดนะครับ) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ระบบ Android เริ่มเปลี่ยนมาใช้ USB-C กันมากขึ้น แต่อันที่จริงแล้ว ผมคิดว่า ผู้ที่ทำให้ USB-C เริ่มเป็นที่รู้จักแก่ผู้ใช้ทั่วไปเป็นครั้งแรกคือ Apple ที่ออกผลิตภัณฑ์ Macbook (เฉยๆ ไม่มี Air หรือ Pro ต่อท้าย) ซึ่งสร้างความฮือฮาต่อสายตาชาวโลกด้วยการ “ตัดทุกพอร์ตที่คอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุ๊คในสมัยนั้นควรจะมี” เช่น LAN USB-A (หรือพอร์ตที่เอาไว้สำหรับเสียบ Flash Drive ทั่วไป) HDMI (ไม่ต้องพูดถึงพอร์ต VGA ที่ Apple ได้ตัดทิ้งแล้วเปลี่ยนเป็น mini Display มาเกิน 10 ปีแล้ว) Card Reader (ช่องไว้สำหรับเสียบการ์ดแบบ SD-card มักอยู่ในกล้องถ่ายรูปและกล้องติดหน้ารถยนต์) และ MagSafe (พอร์ตสำหรับชาร์จไฟของ Apple) เหลือแต่เพียง USB-C 2 พอร์ตกับช่องเสียบหูฟัง ซึ่งอันที่จริงแล้ว Apple จะตัดช่องเสียบหูฟังทิ้งก็ได้นะครับ เพราะ USB-C ของ Apple มีคุณสมบัติที่จะแปลงเสียงให้เป็นแบบแอนะล็อก (Analog) เหมือนกับผู้ใช้ iPhone ที่ต้องมีสายต่อ Lightning to 3.5mm ไว้เสียบหูฟังเช่นเดียวกัน

เบลคิน ช่องต่อ USB-C
หน้าตาของช่องต่อ USB-C

เมื่อ Apple ได้นำร่องการใช้ USB-C กับ Macbook หลังจากนั้นถัดมาหนึ่งปี (2559) จึงนำมาปรับใช้กับ Macbook Pro โดยเพิ่ม USB-C เข้ามาอีก 2 พอร์ต (รวมมีทั้งหมด 4 พอร์ต ข้างซ้ายและขวาด้านละ 2 พอร์ต ซึ่งปกติแล้ว Macbook จะมีแต่ด้านซ้าย) และปี 2561 จึงนำมาใช้กับ Macbook Air แต่มี USB-C เพียง 2 พอร์ต ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นผู้ใช้งาน Macbook จะคุ้นเคยกับ USB-C มาเป็นระยะเวลา 3-5 ปีแล้ว

เบลคินนำเสนอกลุ่มอุปกรณ์เสริมระดับพรีเมียม
ในขณะที่ notebook อื่นในตลาดยังคงช่องต่ออื่นๆ ไว้ครบถ้วน

แม้จะเปลี่ยนมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้วแต่อุปกรณ์เสริมหลายๆ อย่าง เช่น Flash Drive พรินท์เตอร์ สายชาร์จโทรศัพท์ ยังคงปลายสายด้านนึงไว้เป็น USB-A เสมอ นี่จึงเป็นสาเหตุให้คนที่ใช้ Macbook จำเป็นต้องหาอุปกรณ์แปลงจาก USB-C เป็นช่องต่อรูปแบบอื่นหรือ USB-C docking หรือ USB-C Hub หรือ USB-C multimedia (หลายชื่อจัง)

เบลคิน หัวเชื่อมต่อแบบ USB-C
หัวเชื่อมต่อแบบ USB-C

สำหรับบทความนี้จะมาแนะนำ USB-C multimedia ยี่ห้อ Belkin รุ่น F4U092BTSGY ซึ่งก่อนจะเกริ่นคุณสมบัติต่อไปมีสิ่งที่ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจกับคุณสมบัติของช่องต่อ USB-C กันก่อนคือ ช่องต่อ USB-C แต่ละรุ่นหรือ notebook มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง Macbook ที่ช่องต่อ USB-C จะมีคุณสมบัติดังนี้

  1. USB-A (คือไว้เสียบอุปกรณ์ประเภท USB-A ได้ทั่วไป) 
  2. USB PD (Power Delivery) ที่ตามข้อกำหนดสามารถรองรับการจ่ายไฟได้ถึง 100 วัตต์ แต่โดยทั่วไปแล้ว notebook จะใช้ไฟไม่ถึงกัน เช่น Macbook Air 30 วัตต์ Macbook Pro 60 วัตต์ อีกทั้ง อุปกรณ์เสริมยังรองรับการจ่ายไฟในแต่ละตัวไม่เท่ากันด้วย
    Display Port (สัญลักษณ์เป็นตัว D)
  3. Display Port (สัญลักษณ์เป็นตัว D) ที่รองรับการต่อออกจอ เช่น HDMI DVI VGA ทั้งนี้ จอภาพบางรุ่นจะรองรับช่องต่อแบบ USB-C ได้ด้วย ซึ่งเราไม่ต้องหาสายมาแปลงอีก

    Display Port (สัญลักษณ์เป็นตัว D)
    ที่มารูป : displayport.org
  4. Thunderbolt 3 ที่รองรับความเร็วการโอนถ่ายข้อมูลถึง 40 Gbps (USB v3.1 ที่เราใช้กันความเร็ว 5 Gbps) แต่อุปกรณ์ที่รองรับมีน้อยและราคาแพงจึงเหมาะกับพวกมืออาชีพ ในขณะที่ Thunderbolt 1-2 จะมีพอร์ตการเชื่อมต่อแบบ mini Display โดย Macbook Pro รองรับตั้งแต่ปี 2555

    Thunderbolt 3
    ซ้าย Thunderbolt V.2 พอร์ตเชื่อมต่อเป็นแบบ mini Display
                                 ขวา Thunderbolt V.3 พอร์ตเชื่อมต่อเป็นแบบ USB-C
                                 ที่มารูป : thunderbolttechnology.net

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมบางครั้งเราเอา USB-C to HDMI ไปเสียบที่ notebook บางเครื่องถึงไม่มีภาพ ทำไมถึงไม่สามารถเอา USB-C to PD ไปใช้จ่ายไฟ notebook บางเครื่องได้ (เผลอๆ อาจพังด้วย ซึ่ง Macbook เนี่ยเป็น USB-C PD ทุกช่องเลยนะจะเสียบช่องไหนก็ได้และถ้าเสียบพร้อมกันมันก็เลือกแค่ช่องเดียวนะ ไม่ได้จ่ายพร้อมกันทุกช่อง) เอาละ เรามาดูพอร์ตการเชื่อมต่อของ Belkin รุ่น F4U092BTSGY กัน

เบลคิน USB-C
ซ้ายไปขวา (USB-C PD, SD card readear, USB-A x 2, HDMI)

 

เบลคินช่องเสียบ
LAB 1 Gbps

 

ที่จริงแล้วการใช้งานโดยทั่วไปมันก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เพียงแต่ผมจะบอก ข้อจำกัด บางอย่างที่ควรรู้ก่อนใช้งานครับ

  1. ช่องต่อ USB-C PD รองรับการจ่ายไฟสูงสุดที่ 60 วัตต์
  2. ช่องต่อ HDMI รองรับความละเอียด 4K (3840×2160) ที่ความถี่ 30Hz ซึ่งถ้าอยากได้ความถี่ 60Hz ต้องใช้สายของ Apple รุ่น USB-C Digital AV Multiport Adapter เท่านั้น โดยจะมีช่องต่อ HDMI USB-A USB-C PD ราคา 2,290 บาท ที่ราคาไม่ต่างกันเท่าไรกับ Belkin ที่มีราคา 2,500 บาท ทั้งนี้ ถ้าจริงจังเรื่องความถี่ เช่น เล่นเกม ดูภาพยนต์ ที่จะมีผลกระทบต่อความลื่นไหล แนะนำให้ลงทุนซื้ออุปกรณ์ของ Apple ไปเลย แม้ช่องต่อจะน้อยกว่าแต่ตอบโจทย์มากกว่า อีกอย่าง ปัจจุบันเราก็ไม่ได้ใช้ LAN และ SD card reader ด้วยแล้ว

สุดท้ายนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อ่านเองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานช่องต่อหลากหลายขนาดไหน ซึ่งถ้าคิดว่าใช้งานพื้นฐานทั่วไป การซื้อตัวแปลงที่เป็น USB-C to USB-A เพียงอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยของ Apple เองนั่นมีราคาเพียง 690 บาทเท่านั้น

แถมรูปความสวยงาม

"Belkin" ใน สายชาร์จ & อุปกรณ์ชาร์จไฟ

เบลคิน

เบลคิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความน่าสนใจ