“เล่นกับลูก” นั้นสำคัญไฉน

เล่นกับลูก

วัยเด็ก เป็นวัยต้องการเวลาสำหรับการ “เล่น” ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคนเดียวและการเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ อีกทั้งวัยนี้ยังชอบการเล่นโดยไม่มีผู้ใหญ่มาแทรกแซงอีกด้วย

การเล่นกับลูกนั้นก็เป็นเสริมสร้างทักษะ EF (Executive Functions) ทักษะที่จะช่วยเพิ่มพื้นฐานทางความคิดลูก เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยเด็กโต (ในเมืองไทยก็มีนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่จะเน้นการเลี้ยงลูกแบบเสริมสร้างทักษะ EF และมีหนังสือออกมาให้อ่านเกี่ยวกับ EF ถึง 2 เล่ม : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF และ สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF) ซึ่งทักษะ EF นั้นประกอบด้วย 9 อย่าง คือ Working Memory (ความสามารถในการจดจำ) ,Cognitive Flexibility (ความยืดหยุ่นทางความคิด), Inhibitory Control (ความสามารถในการควบคุมตนเอง), Focus หรือ Attention (จดจ่อและใส่ใจ), Emotional Control (ควบคุมอารมณ์), Self – Monitoring (การตรวจสอบตัวเอง), Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) , Planning and Organizing (วางแผนและจัดระบบการดำเนินการ) และ Goal – Directed Persistence (ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย) คุณพ่อคุณแม่สามารถเอาทักษะ EF  9 อย่างนี้ไปประยุกต์ใช้กับการเล่นกับลูก ลูกจะได้ความสนุกเพลิดเพลิน บันเทิงใจ และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางความคิดไปขณะที่เล่นได้อีกด้วย เรียกว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกเป็นโหลเลยนะคะเนี่ย

 

เล่นกับลูก

อย่างไรก็ตาม การเล่นของเด็กกับพ่อแม่ก็สำคัญเช่นกัน เพราะเด็ก ๆ อยากมีเวลาและชอบที่จะอยู่กับพ่อแม่ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้พวกเขารู้สึกพิเศษ เป็นคนสำคัญ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรหาเวลาเล่นกับลูก ๆ เป็นประจำ ยิ่งไปกว่านั้น หากเด็กสามารถเล่นเป็นกลุ่มกับผู้ใหญ่ได้ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการและจินตนาการของเด็กได้มากขึ้น  แต่หากคุณเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือครอบครัวที่มีลูกคนเดียว ก็อาจจะลองชวนครอบครัวหรือเพื่อนมาเล่นได้เป็นครั้งคราว 

การเล่นของเด็กกับพ่อแม่
การเล่นกับเด็ก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอาจส่งเสริมการเล่นโดยกำหนดธีมให้เด็ก เพื่อพัฒนาจินตนาการให้เขาเข้าสู่โลกของพวกเขาได้มาขึ้น และลองปล่อยให้พวกเขาอยู่ในโลกจินตนาการ  

การเล่นกับเด็ก

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอาจส่งเสริมด้วยการ ตั้งคำถามไปพร้อมๆกับการเล่น อาจพูดภาษาชาวบ้านว่า ลองแกล้งโง่ให้ลูก และมีความสุขไปกับเขา แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการกระตุ้นมากเกินไป ให้รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดกระตุ้น เพราะอาจทำให้ลูกของคุณเกิดความเครียดและรู้สึกไม่สนุกในการเล่นกับคุณ

ตั้งคำถามไปพร้อมๆกับการเล่น

ผู้ปกครองสามารถใช้ตุ๊กตาสัตว์หรือหุ่นเชิดเพื่อแสดงสถานการณ์ในชีวิตจริงที่สามารถสอนการแก้ปัญหาหรือทักษะทางสังคมให้กับลูกได้ โดยปล่อยให้หุ่นสาธิตวิธีจัดการสถานการณ์ต่างๆที่ไม่ถูกต้อง จากนั้นให้ดำเนินการในทางที่ดีกว่าร่วมกับข้อมูลที่ถูกต้อง หลังจากนั้นลองให้เด็กทำเช่นเดียวกัน 

สอนการแก้ปัญหาหรือทักษะทางสังคมให้กับลูก

การเล่นกับเด็กนอกจากจะสร้างความผูกพันที่จะคงอยู่ตลอดไประหว่างพ่อแม่ลูกหรือผู้ปกครองแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เด็กรู้ว่าเขาเป็นที่รักของคนรอบข้าง และยังถือเป็นการเปิดประตูสำหรับการรู้จักแบ่งปันปัญหาและความกังวลเมื่อจำเป็นต้องเกิดขึ้น  ช่วยให้ผู้ปกครองได้รับรู้ในเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละคน นอกจากนี้ยังเป็นตัวลดความเครียดที่ดีสำหรับพ่อแม่จากการทำงานหนักอีกด้วย

การเล่นกับเด็กสร้างความผูกพัน

“การเล่นกับลูก” เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับทุกวัยในครอบครัว ทุกคนในครอบครัวสามารถช่วยพัฒนาสายสัมพันธ์ในครอบครัวที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถคงอยู่ไปตลอดชีวิต 

เล่นกับลูกเป็นกิจกรรม
อาจกล่าวได้ว่าครอบครัวที่เล่นด้วยกันอยู่ด้วยกันนั้น เป็นตัวช่วยที่ดีในการพัฒนาและส่งเสริมการสื่อสารของเด็กๆที่เปิดกว้างมากขึ้นและส่งเสริมการเคารพและนับถือตัวเองของเด็ก สร้างทักษะทางสังคมและความรู้สึกเชื่อมโยงที่ช่วยให้เด็กและวัยรุ่นใช้วิจารณญาณที่ดีเมื่อเผชิญกับความยากลำบากและการล่อลวงอีกเช่นกัน

Resources :

https://childdevelopmentinfo.com/child-development/play-work-of-children/pl5/#gs.qsdqjt

https://www.ukessays.com/essays/young-people/i

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128036761000106

Executive Function & Self-Regulation (harvard.edu)

 

บทความที่เกี่ยวข้อง