แอพพลิเคชั่น (Application) ที่หลายๆคนคงได้ยินกันอย่างมากในขณะนี้ คงหนีไม่พ้น CLUBHOUSE คงเริ่มสงสัยกันแล้วใช่มั๊ยล่ะครับว่า แอพนี้เค้ามีดีอะไรน๊า? ทำไมกลุ่มคนดังๆในประเทศและต่างประเทศถึงเข้าใช้กันอย่างแพร่หลาย ไปหาคำตอบกันครับ
TL;DR
- Clubhouse ใช้ได้เฉพาะอุปกรณ์ที่รองรับ iOS 13 ขึ้นไป (อุปกรณ์ Apple ที่รองรับ) ซึ่งอุปกรณ์รุ่นเก่าสุดที่รองรับ ได้แก่ iPhone6s iPad (gen 5) iPad mini 4 iPad Air (gen 3) iPad Pro iPod Touch (gen 7)
- Clubhouse เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน “เสียง” ที่คล้ายกับสถานีวิทยุสมัยก่อนโดยมี DJ เป็นผู้ควบคุมห้อง (Moderator) ผู้ฟัง (Listener) ที่หมุนคลื่นมาฟัง และผู้พูด (Speaker) ที่โทรเข้าไปคุยในรายการ โดยการสนทนาทั้งหมดไม่สามารถฟังย้อนหลังได้ จึงส่งผลให้ความ “สด” เป็นจุดขายหนึ่งของ Clubhouse เนื่องจากสมาชิกต้องฟัง “ทันที” และบางห้องสนทนาที่มีผู้พูดเป็นผู้ได้รับความสนใจจากสมาชิกเป็นพิเศษ เช่น ดร.ทักษิณ ชินวัตร (@tonywoodsome) และ รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ (@pavin_kyoto) ที่ส่งผลให้ผู้เข้าฟังเต็มความจุของห้องภาย (8,000 คนซึ่งมากกว่าตอนเริ่มเปิดตัวประมาณ 6,000 คน) ในไม่กี่วินาที
- คลับเฮ้าส์ต้องรอให้สมาชิกเชิญ (invite) ถึงจะเข้าไปใช้งานได้ และสมาชิกมีบัตรเชิญ (โควต้า) จำกัดที่ส่วนใหญ่ได้รับมาสองบัตรเชิญ
- Clubhouse ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้อัดเสียง (โดยวิธีปกติได้) ซึ่งถ้าผู้ใช้ iOS ลองใช้โหมดบันทึกหน้าจอ แอปจะแจ้งเตือนว่าบันทึกได้เฉพาะภาพแต่เสียงไม่ได้บันทึก (คล้ายกับกรณี Netflix ที่ผู้ใช้ไม่สามารถจับ ภาพหน้าจอบนอุปกรณ์ iOS ได้)
5. ถ้าคุณติด ระวังจะไม่ได้นอนนะ
ประวัติความเป็นมา
คลับเฮ้าส์ คืออะไร ?
เมื่อพฤษภาคม 2563 นาย Paul Davision และนาย Rohan Seth ได้เริ่มต้นพัฒนา Clubhouse โดยมีมูลค่าเริ่มต้นที่ 100 ล้าน USD ทั้งนี้ คลับเฮ้าส์ เริ่มเป็นกระแสในต่างประเทศจากนาย Elon Musk ซีอีโอของบริษัท Tesla และ SpaceX พูดคุยกับนาย Vladimir Tenev ผู้จัดการแอปพลิเคชัน Robinhood ที่ไว้สำหรับเทรดหุ้น (คนละตัวกับ Robinhood ของ SCB ที่ใช้สั่งอาหารในไทยซึ่งแอปดังกล่าวเคยเป็นข่าวเกี่ยวกับปรากฎการณ์ราคาหุ้นของบริษัท GameStop) ผ่าน Clubhouse ในประเด็นการปั่นราคาหุ้นของบริษัท GameStop แต่ที่การเข้ามาในเมืองไทยนั้นผมเห็นทวิตเตอร์ของ @TonsTweetings เป็นคนแรกที่ชวนเข้ามาเล่น Clubhouse โดยพูดคุยประเด็นอะไรก็ได้แต่เป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำให้คลับเฮ้าส์ในไทยได้รับความนิยมจนเป็นที่สนใจเป็นวงกว้างลามไปถึงรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมคงเป็นการใช้งานของปวินและทักษิณ นั่นเอง
ซ้าย: นาย Paul Davision (ที่มารูป: The New York Times)
ขวา: นาย Rohan Seth (ที่มารูป: Telam)
เริ่มต้นใช้งาน
- หา Invite ก่อนนะ ซึ่งที่จริงแล้ว link ที่ให้มากับข้อความจะนำไปสู่หน้าให้ดาวน์โหลดแอป Clubhouse ในกรณีที่อุปกรณ์ของผู้ใช้ยังไม่ได้ติดตั้ง คลับเฮ้าส์ แต่ถ้าติดตั้งแล้วก็จะเรียก Clubhouse ขึ้นมา
ลักษณะข้อความเมื่อได้รับเชิญผ่าน SMS หรือ iMessage
2. ดาวน์โหลด และติดตั้ง
3. ถ้าผู้ใช้งานเพิ่งจะโหลด Clubhouse มาใช้งานครั้งแรกจะพบกับหน้าจอในลักษณะข้างล่างนี้
4. ให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับ OTP แล้วจึงยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ด้วย OTP
5. คลับเฮ้าส์จะให้เราตั้งชื่อ-นามสกุล (ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าทางคลับเฮ้าส์ขอให้ช่วยตั้งชื่อ-นามสกุล ที่ใช้ในชีวิตจริง แต่…จะใช้นามแฝงก็ได้) ต่อจากนั้นจะให้เราตั้ง username (ชื่อที่มี @ นำหน้าคล้ายกับทวิตเตอร์)
6. กรณีถ้าหมายเลขโทรศัพท์ของเรายังไม่ได้รับ invite ก็จะติดที่หน้านี้แต่ถ้าได้รับ invite แล้วข้ามไปข้อ 7. ได้เลย
7. Clubhouseจะให้ใส่รายละเอียด (info) ของผู้ใช้ซึ่งเลือกได้ว่าจะให้เชื่อมโยงกับทวิตเตอร์ หรือใส่รายละเอียดเอง เช่น รูปภาพ
ซ้าย: นำเข้ารูปและอื่นๆ จากทวิตเตอร์
ขวา: เลือกใส่รูปเองไม่เชื่อมโยงกับทวิตเตอร์
8. Clubhouse ขอเข้าถึงสิทธิ์แอพทวิตเตอร์
9. Clubhouse ขอเข้าถึงสิทธิ์รายชื่อเพื่อนในโทรศัพท์ซึ่งถ้าไม่ให้จะส่งผลให้เราไม่สามารถ invite เพื่อนคนอื่นได้เลย เพราะคลับเฮ้าส์อนุญาตให้ invite ได้เฉพาะรายชื่อเพื่อนในโทรศัพท์เท่านั้น และไม่สามารถติดตามเพื่อนหรือบุคคลที่เพื่อนติดตามได้เพราะจะไม่ขึ้นแจ้งเตือน แต่ถ้าเราอนุญาตให้เข้าถึงก็จะทำให้เพื่อน “รู้” เช่นกันว่าเราเข้าใช้งานคลับเฮ้าส์ซึ่งจะมีประเด็นส่วนตัวตรงที่คลับเฮ้าส์ จะ “แจ้ง” ให้เพื่อนเรารู้ว่าเราเข้าฟังในห้องไหนอยู่
ซ้าย: คลับเฮ้าส์ ขอสิทธิ์เข้าถึงรายชื่อเพื่อนในโทรศัพท์
ขวา: คลับเฮ้าส์ ให้เลือกตามเพื่อนที่อยู่ในโทรศัพท์เรา (เผอิญของผมมีคนเดียว ;-P)
10. คลับเฮ้าส์ให้เราเลือกสิ่งที่สนใจเพื่อจะได้หาคนที่จะตาม (Following) เพิ่มเติมตามหัวข้อที่เราสนใจ
11. คลับเฮ้าส์ขอสิทธิ์การแจ้งเตือน
หน้าตาการใช้งาน
เรามารู้จักกับปุ่มต่างๆ ของคลับเฮ้าส์กัน
- สำหรับค้นหาบุคคลให้เราติดตามเพิ่มเติม
- เชิญ (invite) เพื่อน โดยเมื่อเราเข้าใช้งานครั้งแรกจะได้รับ 2 invite เพื่อเชิญเพื่อนได้อีก 2 คนและจะมีโอกาสได้เพิ่มในคราวหลัง ซึ่งเมื่อเรากด invite มันจะส่งข้อความไปให้เพื่อนแบบในรูปขวา (ถ้าส่งแบบ iMessage จะมีพรีวิวลิงก์แสดงให้ด้วย)
- ดูตารางการจัดห้องสนทนาซึ่งเราสามารถเลือกได้อีกว่าจะดูเฉพาะคนที่เราตามหรือดูทั้งหมด
- ดูการแจ้งเตือนคลับเฮ้าส์ เช่น มีเพื่อนเข้ามาใช้งาน (คนที่มีหมายเลขโทรศัพท์ตรงกับสมุดรายชื่อของเรา) มีคนมาติดตามเรา และคนที่เราตามกำลังพูดหรือเข้าใช้งานห้องอะไรอยู่
- สำหรับแก้ไขรายละเอียดผู้ใช้ เช่น รูปภาพ ชื่อ-สกุล และ user (แต่สองอย่างหลังเปลี่ยนได้ครั้งเดียว) นอกจากนี้ ยังสามารถใส่ชื่อเล่น (creator alias) แบบชั่วคราว ซึ่งมันจะไปแสดงหน้าชื่อจริงเวลาใช้งานด้วย ทั้งนี้ ถ้าผู้ใช้งานเชื่อมโยงทวิตเตอร์และอินสตราแกรม มันก็จะแสดงไว้ด้วย
ปล.สำหรับส่วนล่างสุดคลับเฮ้าส์จะบอกว่าใครเป็นคน invite เรามา ซึ่งตรงนี้เราสามารถกดย้อนขึ้นไปเรื่อยๆ ได้นะถ้าอยากรู้ว่าคนบนสุดของเราคือใคร จนกว่าจะเจอคนที่ไม่มีคำว่า Nominated ของผมกดประมาณสิบครั้ง
- ดูว่าเพื่อนเรา (ที่มีหมายเลขโทรศัพท์ในสมุดรายชื่อ ไม่ใช่คนที่เราตาม) ที่เราตามอยู่ใครเข้าฟังตอนไหนและออนไลน์ล่าสุดเมื่อไร
7. เข้ารับฟังกลุ่มห้องสนทนาที่กำลังจัดอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มคนในห้องได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันดังนี้
a. ชื่อห้องสนทนา
b. Moderator (ผู้พูด/ผู้ดูแลห้อง) จะมีสัญลักษณะดาวแฉกสีขาวในวงกลมสีเขียว คือผู้ตั้งห้อง ควบคุมสมาชิกภายในห้องให้ใครเป็นคนพูดหรือผู้ฟัง และจบห้องการสนทนา และ Speaker (ผู้พูด) คือผู้เข้าฟังที่อาจได้รับสิทธิ์ให้เป็นผู้พูด
c. แสดงผู้ฟังที่ผู้สร้างห้องหรือผู้พูดกดติดตามไว้ (Followed by the speakers)
d. ผู้ฟัง (Others in the room) คือกลุ่มผู้ฟังทั่วไป
e. ปุ่มยกมือ กรณีที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ซักถามหรือเรามีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมให้กดปุ่มตรงนี้ได้ ปล.เมื่อกดแล้วและได้รับสิทธิ์ให้เป็นผู้พูด แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้พูด กรุณาปิดไมค์ก่อน
f. ชวนเพื่อนที่เรารู้จักมาเข้าฟังในห้องนี้
g. ออกจากห้อง
h. ค้นหาสมาชิกที่อยู่ในห้องนี้
ปล.สำหรับผุ้ใช้งานบางคนที่มีสัญลักษณ์ “พรุ” หมายถึงเป็นผู้ใช้ใหม่ที่มีระยะการใช้งานคลับเฮ้าส์ไม่ถึง 1 สัปดาห์ ทางคลับเฮ้าส์จะบอกว่าถ้าสมาชิกใหม่ใช้งานอะไรไม่เป็นก็ช่วยสอนหน่อยนะ
8. ตั้งห้องสนทนาขึ้นมาใหม่
โดยจะประกอบด้วย 3 รูปแบบดังนี้
– Open: ใครก็ได้เข้าห้องสนทนานี้
– Social: เฉพาะคนที่ตามเราเท่านั้นถึงเข้าห้องสนทนานี้ได้
– Closed: เฉพาะคนที่เราเชิญเท่านั้นถึงจะเข้าห้องสนทนานี้ได้
ถัดจากนั้นจะมีให้กำหนด ชื่อห้องสนทนา บุคคลที่ต้องการเชิญมาเปิดผุ้ควบคุมห้องหรือผู้พูด วัน-เวลาที่จัด และคำอธิบายห้องสนทนา
สำหรับคลับเฮ้าส์ ถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่หยิ่งจริงๆใช่มั๊ยครับ เพราะใช่ว่าโหลดแล้วจะใช้งานได้เลยสะเมื่อไหร่ ต้องมีคน invite ตามขั้นตอนที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น
คลับเฮ้าส์เป็นแอพที่คนในต่างประเทศก็ให้ความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ก็เอาสะโซเชี่ยลยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) ก็กำลังพัฒนาฟีเจอร์ที่มีความคล้ายคลึงกันมาออกให้คนได้ใช้กัน คาดว่าเร็วๆนี้ก็คงจะได้ข่าวกันแล้วล่ะครับ
ทำไม คลับเฮ้าส์ ถึงต้องใช้บทสนทนาอย่างเดียว?
ทางผู้พัฒนาคลับเฮ้าส์กล่าวว่า เสียงคือสื่อกลางที่ดี ไม่ต้องมากังวลในส่วนของหน้าตา ว่าทำไมหน้าโทรมจัง ทำไมทำผมทรงนี้ วันนี้เขียนคิ้วหนาไปนะ หรือแม้กระทั่งไม่ต้องกังวลว่าเราอยู่ที่ไหนระหว่างบทสนทนา ไม่ต้องมานั่งจัดมุม เปลี่ยนแบลคกราวน์
สำหรับผู้ใช้ Android ทำอย่างไร?
รูปจาก www.reddit.com
ตอนนี้ก็ยังคงต้องร้องเพลงรอไปก่อนครับ เพราะทางทีมงานของคลับเฮ้าส์ ยังคงพัฒนาแอพเพื่อให้ชาวแอนดรอยด์ใช้งานได้ แต่ๆๆไม่มีอะไรที่จะรั้งความต้องการของคนได้ ก็แอพเขาดังสะขนาดนั้น จึงมีการพัฒนาแอพ Houseclub ขึ้นมาเพื่อให้ชาวแอนดรอยด์ได้ใช้งานกัน แต่ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าแอพนี้ไม่ได้เป็นแอพ official ของคลับเฮ้าส์ แต่เป็นการเเกะโค้ดแอพคลับเฮ้าส์ แล้วเชื่อมต่อเข้ากับแอพ Houseclub นั่นเอง ซึ่งถือว่าไม่ถูกกฎหมายสะทีเดียว ดังนั้นหากจะโหลดมาก็ลองพิจารณาดูนะครับ
ภัยที่อาจจะมาจาก คลับเฮ้าส์
- เนื่องจากที่เอ่ยไปข้างต้นแล้วว่า โหลดแล้วจะใช้งานได้ ต้องรอให้มีคนมา invite ซึ่งจุดนี้ในต่างประเทศก็มีคนหัวใส ทำการค้าขาย โดยการรับขายการ invite แต่ประเทศไทยผมคิดว่าเราคงไม่น่าไปถึงจุดนั้นหรอกนะครับ
- การแอบอ้างเป็นคนดัง แล้วเปิดห้องสนทนา แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะตอนสมัครทางแอพให้จะให้ยืนยันตนจากบัญชีผู้ใช้ของ Twitter และ Instagram (จากขั้นตอนสมัครเบื้องต้นที่ผมกล่าวไว้) แต่ในความคิดของผมแล้วนั้น ผมยังคิดว่าไม่เพียงพอ ซึ่งคาดว่าในอนาคตน่าจะมีการเพิ่มการยืนยันตัวเพิ่มเข้าไปอีกสำหรับคนที่จะเปิดห้อง
- อาจจะเป็นแหล่งหลอกลวงของมิจฉาชีพก็ได้ หากผู้เปิดห้องเปิดเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ดี ดังนั้นจะเข้าไปห้องไหนก็ต้องระมัดระวังด้วยนะครับ มีสติในการฟังด้วยนะครับ
อนาคตของ คลับเฮ้าส์
นอกจากการพัฒนาให้ผู้ใช้ Android เข้าใช้ได้แล้วนั้น ในอนาคตทางคลับเฮ้าส์ จะใช้แอพตัวนี้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ให้ CEO จากบริษัทยักษ์ใหญ่หรือคนเก่ง คนดังที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มาเปิดห้องให้ความรู้แก่ผู้ฟัง ซึ่งจะต้องจ่ายค่าเข้าไปฟังหรือไม่นั้นก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ
เสร็จสิ้นกันไปเรียบร้อยสำหรับการใช้งานคลับเฮ้าส์ เอาละไว้เราจะมาติดตามตอนอื่นๆ กันว่าจะมีอะไรให้ใช้งานอีก
บทความที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
รีวิว Google home ลำโพงอัจฉริยะ หนึ่งใน smart gadgets ภายในบ้าน (thatsmatter.com)
รีวิว ลำโพงพกพา Bluetooth JBL Charge 2+ เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ด้วยตนเองง่ายๆ (thatsmatter.com)
Belkin Type-C ของมันต้องมีสำหรับผู้ใช้ Macbook คุ้มค่ากับการใช้งาน (thatsmatter.com)
พาวเวอร์แบงค์ รีวิว ยี่ห้อไหนดี จะเลือกซื้อย่างไร ให้ได้ของดี (thatsmatter.com)
แกะกล่อง รีวิว กล้องฟิล์ม KitKat รุ่น 2 มือสมัครเล่นห้ามพลาด (thatsmatter.com)
Pingback: ปุ่มลัดบน Macbook 101 ที่จะทำให้การใช้งานบนระบบ Macintosh ง่ายขึ้น
Pingback: มาลองใช้ Line Labs กัน มีฟังก์ชั่นดีๆในแอพให้คุณได้สนุกกัน