หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรสังเกตอาการอะไรบ้าง? อาการลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดพบได้บ่อยไหม? 

วัคซีนโควิด 19

หลายๆประเทศยังคงฉีด วัคซีนโควิด 19 เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น“วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” “วัคซีนของไฟเซอร์/ไบออนเทค” วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca-Oxford) และ  “วัคซีนซิโนแวค”  ซึ่งอย่างที่รู้กันดีว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นอีกหนึ่งวัคซีนที่มียอดจองจำนวนมากในหลายๆประเทศ และมีคนได้รับวัคซีนชนิดนี้มากถึง 31 ล้านโด๊ส ในราชอาณาจักรได้รับวัคซีน (รายงานในจำนวน ณ วันที่ 8 เมษายน 2021)  ซึ่งจากรายงานข่าวที่ผ่านมาพบว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca-Oxford) มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ (Venous Thrombosis -VT)

ซึ่งทางผู้ผลิต แพทย์ และนักวิจัยทางการแพทย์เองก็ไม่นิ่งนอนใจ หาสาเหตุ ของโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ ที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน AstraZeneca-Oxford  (VIPIT หรือ Vaccine-induced Prothrombotic Immune Thrombocytopenia)

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากบทความ Lancet ของประเทศเดนมาร์ค ได้ให้ข้อมูลของการวิเคราะห์ โดยทำการย้อนดูประวัติของกลุ่มคนในประเทศเดนมาร์ก ในช่วงอายุ  18-64 ปี (รายงานการศึกษานี้อยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2010 ถึง 30 พฤศจิกายน 2018) พบว่า

โดยปกติมีผู้ป่วยจากโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ 0.91 ต่อ ประชากร 1,000 ต่อปี เมื่อคำนวณต่อประชากร 5 ล้านคน (จำนวนที่เท่ากับคนที่ได้รับวัคซีน) พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยจากโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ  91 คนต่อสัปดาห์ หรือ 398 รายต่อเดือน

เมื่อไปเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ ที่เกิดหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca-Oxford) 30 ราย ต่อ 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าไม่เกินจำนวนที่พบโรคนี้ในประชากรทั่วไป

หน่วยงาน EMA (European Medical Agency) จึงยังคงแนะนำให้วัคซีน AstraZeneca-Oxford ต่อไปได้ เพราะ

“ประโยชน์ที่จะได้รับจากการฉีดวัคซีน มีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากได้รับเชื้อโควิด-19”

ภาวะ VIPIT คืออะไร?

วัคซีนโควิด-19 ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ

VIPIT ( Vaccine-induced Prothrombotic Immune Thrombocytopenia ) หรือที่เรียกกันว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีน

 ซึ่งหลอดเลือดดังกล่าวเกิดบริเวณหลอดเลือดดำในสมอง หรือ Cerebral venous thrombosis โดยจะพบหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 4-20 วัน พบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยจะมีอาการ  ปวดศีรษะมาก ปวดคงที่ไม่หาย มีอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ ,ชัก , ตามัว ,หายใจติดขัด ,เจ็บหน้าอก, ปวดท้อง ,แขน หรือขาบวมแดง .แขนหรือขา ซีด เย็น

โดยกลไกการเกิดภาวะดังกล่วเชื่อว่ามาจาก Antibody หรือ ‘ภูมิคุ้มกัน’ ของร่างกายไปกระตุ้น ‘เกล็ดเลือด’ ให้จับตัวกันเป็น ‘ลิ่มเลือด’ ขึ้นมา จึงเกิดการอุดตันเส้นเลือด จึงทำให้ปริมาณเกล็ดเลือดลดลง ซึ่งมีความคล้ายกับ Auto immune thrombosis ที่เกิดจากการใช้ยา Heparin (Heparin- Induced Thrombocytopenia ย่อว่า HIT )

พบภาวะ VIPIT ได้บ่อยแค่ไหน?

  • ข้อมูลจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564 พบภาวะ VIPIT  1 รายต่อผู้ที่ได้รับวัคซีน 1,000,000 คน
  • ข้อมูลจากสถาบัน Paul-Ehrlich เยอรมนี ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564 พบภาวะ VIPIT 1 รายต่อ 100,000 คน

จากอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็พบอาการลิ่มเลือดอุดตันในคนไข้ที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลถึง 1 ใน 5 ราย

เหตุนี้เอง ทาง WHO  ประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศ ยังคงแนะนำให้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca-Oxford) นี้ต่อไปได้

ปัจจัยใดบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงต่อ VIPIT ?

อายุ

  • ในประเทศอังกฤษผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อย มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการจับโควิด -19 นั้นต่ำ แต่อาจมีอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งในประเทศแคนาดาและฝรั่งเศสได้ระบุว่าผู้ที่จะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca-Oxford) ไว้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป,  เยอรมนีกำหนดอายุไว้ที่ 60 และประเทศไอซ์แลนด์ กำหนดอายุไว้ที่ 70 ปี

เพศ

  • ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงขึ้นหรือไม่? มีหลายข้อมูลกล่าวว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าผู้ชาย แต่จริงๆแล้วนั้น ไม่เป็นความจริง  ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าผู้หญิงได้รับวัคซีนมากขึ้น  (ข้อมูลจากประเทศอังกฤษ)

อาการอะไรบ้าง ที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงจากอาการลิ่มเลือดอุดตัน (VIPIT) ?

หลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 4-20 วัน ต้องคอยสังเกตว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • ปวดศีรษะมาก หรือปวดตลอดเวลาไม่หาย  (เป็นอาการที่เกิดจากเส้นเลือดดำใหญ่ในสมองอุดตัน)
  • ตามัว (เป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทเฉพาะที่)
  • อาการเส้นเลือดดำอุดตันที่อวัยวะ เช่น ปอด ช่องท้อง แขนขา 
  • อาการหายใจไม่สะดวก , เจ็บหน้าอก
  • ปวดท้อง
  • แขน หรือขา บวมแดงหลังจากได้รับวัคซีน
  • แขนหรือขาสีซีด ในเดือนหน้า ถ้าจะมีการฉีดวัคซีนนี้ในประชาชนจำนวนมากขึ้น ก็ควรมีการเตือนให้ระมัดระวังอาการที่อาจพบได้น้อยมากนี้ไว้ด้วยค่ะ

ถ้ามีอาการที่น่าสงสัยหลังจากได้ฉีดวัคซีน 4-20 วันแล้วนั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดดูเกล็ดเลือด หากมีค่าต่ำกว่า  150,000/ mm3 ควรส่งตรวจ  D dimer , blood smear และx ray 

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซีนโควิด-19

 การศึกษาล่าสุดพบว่าวัคซีน Oxford เพียงครั้งเดียวให้การป้องกัน 76% เป็นเวลาสามเดือนและเพิ่มขึ้นถึง 82% หลังจากได้รับครั้งที่สอง

วัคซีนป้องกันโควิดได้นานแค่ไหน?

 ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าวัคซีนโคโรนาไวรัสแต่ละชนิดป้องกันได้นานแค่ไหน

 จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ได้รับเชื้อโควิดจะพัฒนาการป้องกันเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือน วัคซีนมีแนวโน้มที่จะให้การป้องกันได้ดีขึ้น

 อาจเป็นไปได้ว่าผู้คนต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

เราจะสามารถรับเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จากวัคซีนได้หรือไม่?

เราจะไม่สามารถรับเชื้อ COVID-19 จากวัคซีนได้ แต่จะมีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) และตัวคุณเองไม่ทราบว่ามีอาการจนกระทั่งหลังจากการนัดหมายการฉีดวัคซีน

อาการที่พบบ่อยที่สุดของโควิด-19 ( COVID-19 ) คือ  :

  • ไอต่อเนื่องใหม่
  • มีไข้สูง
  • การสูญเสียหรือมีการเปลี่ยนแปลงการรับรสชาติหรือกลิ่นของคุณ (anosmia)

แม้ว่าไข้สามารถเกิดขึ้นได้ภายในหนึ่งหรือสองวันหลังการฉีดวัคซีนหากคุณมีอาการ

จะสามารถกลับไปทํากิจกรรมประจําวันหลังจากได้รับวัคซีนได้หรือไม่?

คุณควรจะสามารถดําเนินกิจกรรมปกติได้ตราบใดที่คุณรู้สึกดี หากแขนของคุณเจ็บเป็นพิเศษคุณอาจพบว่ายกของหนักยาก หากคุณรู้สึกไม่สบายหรือเหนื่อยมากคุณควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการขับขี่

วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -19 มีประสิทธิภาพเพียงใด?

เมื่อได้วัคซีน COVID-19 ครั้งที่ 1 คุณจะได้รับการป้องกันที่ดีจากเชื้อโคโรนาไวรัส  แต่คุณต้องได้รับวัคซีนโดสที่ 2 เพื่อช่วยในการป้องกันที่ยาวนานขึ้น

คุณจะยังคงมีโอกาสที่จะได้รับหรือแพร่กระจายโคโรนาไวรัสแม้ว่าคุณจะได้รับวัคซีนก็ตาม ซึ่งหมายความว่าคุณยังคงต้อง:

  • ปฏิบัติตามแนวทางเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing)

ปกป้อง ผู้สูงอายุ ให้ปลอดภัยจากเชื้อ COVID-19 ทำได้ง่ายๆ เริ่มต้นที่บ้านคุณ (thatsmatter.com)

แนะนำ ร้านค้าออนไลน์ ใช้ในการช้อปปิ้งออนไลน์ หากต้องหยุดอยู่บ้านอีกครั้ง (thatsmatter.com)

  • ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนเยอะ

10 ไอเท็มเด็ดที่ทุกคนต้องมีในยุค โควิด ระบาด คร่าชีวิตคนนับล้าน (thatsmatter.com)

  • ล้างมือบ่อยๆ

แนะนำ 10 เจลล้างมือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือยามฉุกเฉิน (thatsmatter.com)

ครีมทามือ กู้มือแห้งกร้านให้กลับมาเนียนนุ่ม ชวนให้หลงไหล น่าสัมผัส (thatsmatter.com)

  • เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์เข้ามา
  • ทําตามคําแนะนําของทางหน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน

Resources:

https://covid19-sciencetable.ca/sciencebrief/vaccine-induced-prothrombotic-immune-thrombocytopenia-vipit-following-astrazeneca-covid-19-vaccination/

Thromboembolism and the Oxford–AstraZeneca COVID-19 vaccine: side- effect or coincidence?

https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2821%2900762-5

https://www.usatoday.com › graphics

https://eu.usatoday.com/in-depth/graphics/2021/03/27/comparing-covid-19-vaccines/6806600002/

https://www.statista.com/chart/23510/estimated-effectiveness-of-covid-19-vaccine-candidates/

บทความที่น่าสนใจ

One thought on “หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรสังเกตอาการอะไรบ้าง? อาการลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดพบได้บ่อยไหม? 

  1. Pingback: การฉีดวัคซีนโควิด-19 กับผู้หญิง ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ต้องระวังอะไรบ้าง ก่อนฉีด

Comments are closed.