การฉีดสี CT Scan สิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้ารับการการฉีดสี

ฉีดสี ct scan

จากเหตุการณ์ข่าวดังกล่าว ทำให้สนใจคำว่า ” ฉีดสี ” ขึ้นมาค่ะ🤔

แพ้สารทึบรังสีเสียชีวิต

สารบัญ

 

 

ฉีดสี คืออะไร แล้วทำไมต้องฉีด มันเป็นเรื่องใกล้ตัวเรารึป่าวนะ  ถ้าเราหรือคนใกล้ตัวของเราต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วมีการตรวจที่ต้องฉีดละ เราควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

 

ฉีดสี ในที่นี้หมายถึง การฉีดสารทึบรังสีเป็นสารจำพวกไอโอดีน (Iodinated) มีคุณสมบัติทึบต่อรังสีเอกซเรย์ ซึ่งใช้ในการการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่อง Fluoroscopy หรือเครื่องมืออื่นๆที่ให้กำเนิดรังสีเอกซเรย์ได้…

 

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ต้องฉีดสารทึบรังสีร่วมด้วยทุกครั้งหรือไม่คำตอบคือไม่เสมอไป

การฉีดสีจะทำก็ต่อเมื่อรังสีแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคบางชนิดได้ เช่น เนื้องอก ฝีหรือหนอง และความผิดปกติของหลอดเลือด เป็นต้น

การฉีดสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

จากรูปจะเห็นว่า ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ภาพที่2 หลังจากฉีดสีจะสามารถเห็นรอยโรคและขอบเขตของโรคได้ชัดเจนมากขึ้นกว่า ภาพที่1 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการอ่านและแปลผลของรังสีแพทย์

 

การตรวจด้วยสารทึบรังสีทำได้อย่างไร แล้วมีข้อห้ามในการตรวจอะไรบ้าง

การให้สารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายทำได้ทั้งการ

กิน เข้าทางปาก

สวน เข้าทางทวารหนัก

ฉีด เข้าทางหลอดเลือด

 

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ที่ต้องใช้สารทึบรังสีในการตรวจคือ

1.ผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ โรคหอบ

2.ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล

3.ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

4.ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

5.ผู้ที่เคยตรวจด้วยสารทึบรังสีแล้วมีอาการแพ้

6.ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ไม่ควรฉีดสารทึบรังสีหรือเข้าตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หากเลี่ยงได้ควรเลือกตรวจด้วยเครื่องมือที่ไม่ใช้รังสี อาจจะตรวจเป็นอัลตราซาวด์หรือเครื่อง MRI (magnetic resonance imaging) แทน

 

หากต้องฉีดสีจะสังเกตอาการแพ้ได้อย่างไร 

1.คลื่นไส้อาเจียน

2.แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก

3.คันตามตัว มีผื่นเม็ด

4.ปวดบวมบริเวณที่ฉีด

5.หนาวสั่นเหมือนมีไข้

ทั้งนี้อาการแพ้จะเริ่มเกิดได้ทันทีตั้งแต่รับสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกาย และอาการแพ้จะรุนแรงมากหรือน้อยไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล

 

วิธีการดูแลตัวเองหลังจากฉีดสารทึบรังสี(กรณีฉีดเข้าทางหลอดเลือด)

1.สารทึบรังสีจะขับออกทางปัสสาวะ ภายในเวลา 24 ชม. หลังฉีด

2.ควรดื่มน้ำตามเยอะๆ (4-8 แก้ว)

3.หากมีอาการมือเท้าบวมหรือปัสสาวะไม่ออกให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

สุดท้ายนี้หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆหรือใครก็ตามที่กำลังเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีการฉีดสีร่วมด้วย จะได้เตรียมพร้อมและไม่กังวลจนเกินไปเพราะจริงๆแล้วการฉีดสีเป็นขั้นตอนหนึ่งของการตรวจเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ดีและเเม่นยำนั่นเอง

 

❤️ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก..คู่มือเตรียมการตรวจ CT-SCAN และการฉีดสี(สารทึบรังสี)

ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รพ.สงขลานครินทร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *