5 วิธีในการเริ่มต้นวันใหม่ ๆ ด้วยความคิดเชิงบวกให้กับลูกน้อย (Positive Mindset Kids)

ความคิดเชิงบวกให้กับลูกน้อย (Positive Mindset Kids)

อย่างที่เรารู้กันดีว่า พฤติกรรมทุกอย่างล้วนมีสาเหตุ ยิ่งสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบัน อาจสร้างความหงุดหงิดและมีอารมณ์ที่อยากต่อต้านให้กับลูกอยู่บ้าง  มีการบ้าน งานมากมายที่ต้องทำ และสำหรับนักเรียน (และอาจจะรวมไปถึงผู้ปกครองด้วย) ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ไม่ทำให้อารมณ์ความคิดดีมากสักเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเรามีความที่ลบจนเกินไปก็ทำให้เราจมอยู่กับเรื่องแย่ๆ ยิ่งถ้าเราเป็นผู้ปกครองของเด็กน้อยแล้วนั้น เราต้องพยายามที่จะพาตัวเองออกมาจากอารมณ์เหล่านั้นให้เร็วที่สุด เพราะพ่อแม่คือต้นแบบของลูก หากคุณต้องการให้ลูกมี ความคิดเชิงบวก Positive mindset Kids ตัวคุณเองก็ต้องเป็น Positive Parents ด้วย ซึ่งพ่อแม่ก็ควรทำให้การคิดบวกนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการสร้างกรอบความคิดแบบเติบโต 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเชิงลบไม่ดีหรือไม่?

อารมณ์เชิงลบ ก็ไม่ใช่ว่าจะ “ไม่ดี” เพราะทั้งความคิด อารมณ์เชิงบวก และเชิงลบ ล้วนแต่มีบทบาทสําคัญในการประมวลการดำรงชีวิตของพวกเรา 

ตัวอย่างเช่น เมื่อเรามีอารมณ์เศร้า ก็สามารถช่วยเราประมวลผลช่วงเวลาที่ยากลําบากของเราได้ เหมือนกับที่เรารู้กันว่า เรียนรู้จากความผิดหวัง

นอกจากการที่เราพยายามที่จะมีความสุขตลอดเวลา อาจส่งผลทําให้เราพยายามที่จะต่อต้านความรู้สึกจริงๆ ของเราซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ ในความเป็นจริงการวิจัยทางจิตวิทยาเมื่อเร็ว ๆ นี้บ่งชี้ว่าการหลีกเลี่ยงทางอารมณ์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาทางจิตวิทยาอย่างมากมาย

ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงไม่จําเป็นต้องกดดันให้เด็กหลีกเลี่ยงต่ออารมณ์เชิงลบ

พ่อแม่สามารถปลูกฝังลูกให้มี ความคิดเชิงบวก ได้ดังนี้

 ลองสิ่งใหม่ๆ

หากลูกของคุณมีปัญหาหรือต่อต้านในการลองทำสิ่งใหม่ๆ  และการบังคับก็อาจจะทำให้ลูกต่อต้านมากยิ่งขึ้น และจะทำอย่างไรให้ลูกเต็มใจที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าการได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ เป็นวิธีหนึ่งในการปลูกฝังกรอบความคิดแบบเติบโตให้กับเด็ก  หากลูกไม่พยายามที่จะลองจริงๆ ก็คงต้องกลับมาคิดว่า สิ่งนั้นยากเกินกว่าที่ลูกจะทำหรือไม่ ถ้าไม่ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพยายามทำสิ่งนั้นให้สนุก และลงทำพร้อมกับลูก ใช้คำพูดให้กำลังใจกับลูก 

เรียนรู้จากความผิดพลาด

เสริมความคิดเชิงบวก

เป็นเรื่องง่ายที่จะมีคนเราจะมีความคิดเชิงลบ แต่มีบ่อยครั้งไปก็ไม่ดีนัก  การมองความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเติบโตเป็นวิธีรักษาทัศนคติเชิงบวกของคนเรา หากลูกทำผิดพลาดไป คุณพ่อคุณแม่ก็ตักเตือนด้วยคำพูดที่ไม่ดุด่า เช่น “ผิดเป็นครู” , “เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง” เพื่อที่จะให้ลูกมองเห็นความผิดพลาดครั้งนี้ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอนาคต  

เด็กควรจะเข้าใจว่า การทำอะไรผิดพลาดแล้วเกิดอารมณ์เศร้า โมโห นั้นเป็นเรื่องปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ต้องจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น หากลูกได้เรียนรู้ที่จะยอมรับและหาทางแก้ไขได้แล้วนั้น เขาจะเห็นได้ว่า ทุกปัญหาย่อมมีทางออก 

สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

ความคิดเชิงบวก สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”  ประโยคคลาสสิคของอัลเบิร์ต อัลสไตน์ ที่หลายคนได้ยินกันมานาน ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นโดยการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก เป็นสมองส่วนที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการตัดสิน ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำงานได้ดีในวัยเด็ก แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น สมองส่วนเหตุผลและกฎเกณฑ์จะเติบโต ทำให้มีเหตุผล มีกฎเกณฑ์ ยึดประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติ

ซึ่งพ่อแม่เองก็ต้องฝึกคิดนอกกรอบ มีคำถามมาช่วยกระตุ้นความความคิดของลูก และหากลูกตั้งคำถามพ่อแม่เองก็ต้องตอบลูก

หากลูกมีความคิดต่างจากคุณในด้านการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของเขา พ่อแม่ก็ควรให้เขามีออสระทางความคิด

สร้างความภูมิใจให้กับลูก

ความคิดเชิงบวก ลองสิ่งใหม่ๆ

ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) มีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิตและนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตของลูก ไม่ว่าจะเป็นด้านทัศนคติที่ดี, การนับถือตนเอง ที่สำคัญยังทำให้สามารถแก้ปัญหาเเละรับมือกับอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างมีความสุข 

พ่อแม่ต้องชมเชยทุกครั้งที่เด็กทำดีโดยเฉพาะการให้กำลังใจและให้ความคิดเชิงบวก เช่น “ลูกต้องทำได้” หรือ ”พ่อกับแม่เชื่อว่าถ้าลูกตั้งใจทำ อะไรก็สบายอยู่แล้ว” เป็นต้น

เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จของลูกเป็นเรื่องใหญ่และน่าประทับใจ

ควรหลีกเลี่ยงคำพูดที่จะบั่นทอน Self-Esteem ของลูก เช่น ตำหนิลูกมากเกินไป เมื่อลูกไม่เป็นไปตามที่ตัวเองหวัง หรือเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นเสมอ

ส่งเสริมการฝึกฝน

ความคิดเชิงบวกให้ลูก

เมื่อลูกเจอปัญหาควรฝึกให้เขาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยต้องมีความอดทน ขยัน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อกับอุปสรรค ตั้งแต่เล็กๆ โดยมีพ่อแม่คอยชี้แนะและสอนให้เข้าใจว่าทุกคนล้วนต้องเจอปัญหาเป็นเรื่องปกติ แต่เราต้องอดทนและหาหนทางที่จะมาแก้ไขปัญหา โดยพ่อแม่อาจจะต้องยกตัวอย่างปัญหาที่พ่อแม่เคยเจอมา เพื่อให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง ว่าเวลามีปัญหาพ่อแม่ก็ต้องแก้ไขโดยไม่หนีปัญหา

กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความคิดเชิงบวก

ก่อนอื่นเลยคืออย่ากดดันให้ลูกของคุณกําจัดความคิดเชิงลบทั้งหมด แต่ช่วยให้เขาค่อยๆ ซึมซับการคิดบวกโดยใช้กิจกรรมต่อไปนี้ 

  • ฝึกทําสมาธิ ด้วยส่งเสริมโดยการให้ความรัก ความเมตตา โดยส่งความคิดเชิงบวกไปยังผู้อื่น
  • ให้โอกาสลูกของคุณในการเป็นอาสาสมัครและช่วยเหลือผู้อื่น
  • ชื่นชมลูก และให้จดบันทึกเมื่อลูกทำหรือพูดที่ส่งเสริมความคิดเชิงบวก
  • แบ่งปันประสบการณ์เชิงบวกกับลูกของคุณ และจําลองสถานการณ์ที่ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวก
  • กระตุ้นให้ลูกพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และลองทํากิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อแชร์ประสบการณ์ใหม่ ๆ
  • ฝึกให้ลูก ยืนยันเชิงบวก เช่น หนูเป็นเด็กมีน้ำใจ หนูดีเพียงพอ หนูเป็นเพื่อนที่ดี

“พลังเชิงบวก” ต้องเริ่มจากจากตัวของพ่อแม่ก่อน เพื่อส่งผ่าน การปลูกฝัง การเลี้ยงดูลูกน้อยที่จะเติบโตขึ้นไปได้งอกงามด้วยทัศนคติที่ดีต่อชีวิต โดยการปลูกฝังให้ลูกมีความคิดเชิงบวกสามารถทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ  อย่าคิดว่าลูกเล็กเกินไปแล้วไม่เข้าใจ ความจริงเด็กสามารถซึมซับและเข้าใจได้ตามวัยของเขา เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณสื่อสารเชิงบวกกับลูก และช่วยเพิ่มสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ไว้ใจซึ่งกันและกัน 

https://positivekids.ca/

How to Nurture a Growth Mindset in Kids: 8 Best Activities (positivepsychology.com)

Positive Activities for Kids | Big Life Journal

Helping Kids Cope with Big Emotions About Failure – Big Life Journal

บทความที่น่าสนใจ