คำแนะนำและข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

เตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นระบาดใหม่ระลอกที่ 3 อีกทั้งดูเหมือนจะมีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อน ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อตลอดจนจำนวนผู้เสียชีวิตรายวัย และดูท่าว่าจะยังไม่คลี่คลายโดยง่าย ทั้งนี้การเข้ามาของโควิด-19 ที่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย และล่าสุดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ยิ่งทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดดูมีความน่าเป็นกังวลมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

วัคซีนป้องกันโควิด-19

หนึ่งในความหวังที่จะบรรเทาสถานการณ์ให้ดีขึ้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของ วัคซีน ซึ่งเริ่มมีหลายหน่วยงานออกมาเปิดลงทะเบียนเพื่อขอรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 กันมากขึ้น

ลงทะเบียนเพื่อขอรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมอนามัย ได้เปิดเผยการสำรวจจากอนามัยโพล ในช่วงวันที่ 14 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2564 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,093 คน ต่อประเด็นเรื่องความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีน โควิด-19 ผลพบว่า ภาพรวมประชาชนมีความกังวลใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังวันที่ 23 เมษายน 2564 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 2,000 รายต่อวัน ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97.8 อีกทั้งความรู้สึกในการอยากฉีดวัคซีนได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดตามสถานการณ์ กล่าวคือ แนวโน้มความต้องการฉีดวัคซีนมีเพิ่มขึ้นยิ่งในช่วงที่มีข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงตลกชื่อดัง รวมถึงมีจำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 20 รายต่อวัน ประชาชนยิ่งมีความเป็นกังวลและต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.5

ฉีดวัคซีน
สำหรับผู้ที่มีการลงทะเบียนขอรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 และได้รับวันเวลานัดหมายแล้วสำหรับการฉีดวัคซีนแล้ว วันนี้ Thatsmatter.com มีคำแนะนำและข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยขอแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนฉีด ขณะฉีด และ หลังฉีด ดังนี้

เตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

คำแนะนำและข้อปฏิบัติก่อนเข้ารับวัคซีน

1.วันเวลา สถานที่ และเอกสารจำเป็น

  • ตรวจสอบวันและเวลารวมถึงสถานที่นัดหมายอีกครั้งอย่างชัดเจน
  • ศึกษาเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ที่เข้ารับบริการฉีดวัคซีน เพื่อประเมินเวลาที่ใช้ในการเดินทาง
  • เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน (สำคัญมาก) เพื่อยืนยันตัวตนแก่เจ้าหน้าที่
  • เอกสารยืนยันการนัดหมายอื่นๆ อาทิ คิวอาร์โค้ด, SMS ยืนยันการนัดหมาย หรือ ใบให้ความยินยอมเพื่อฉีดวัคซีน เป็นต้น ทั้งนี้แนะนำให้ศึกษารายละเอียดของสถานที่เข้ารับบริการในแต่ละแห่งอีกครั้ง

2. ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมร่างกายและจิตใจ

  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่อดนอน
  • ตรวจสอบร่างกายเพื่อความมั่นใจว่าไม่มีไข้หรืออาการเจ็บป่วยใดๆก่อนเข้ารับวัคซีน หากเจ็บป่วยแนะนำให้เลื่อนการรับวัคซีนออกไป 
  • ทำสภาพจิตใจให้พร้อม ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลใดใด
  • เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือชา-กาแฟที่มีคาเฟอีน
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 0.5 – 1 ลิตร
  • งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหมก่อนและหลังฉีดวัคซีน 2 วัน

เตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อนเข้ารับวัคซีน

คำแนะนำและข้อปฏิบัติขณะเข้ารับวัคซีน

1. แจ้งข้อมูลจำเป็นแก่ทีมแพทย์-พยายาล

  • กรอกข้อมูลประเมินสภาพความพร้อมของร่างกายตามความเป็นจริง (ถ้ามี)
  • แจ้งโรคประจำตัว รวมถึงประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีน และข้อมูลจำเป็นอื่นๆที่แพทย์ควรทราบ
  • สำหรับสุภาพสตรีต้องแจ้งแพทย์หากมีการตั้งครรภ์

2. ข้อปฏิบัติอื่นๆ 

  • ควรฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัดหรือใช้งานบ่อย และไม่เกร็งขณะฉีด
  • รักษามาตรการป้องกันขั้นพื้นฐานคือรักษาระยะห่าง, สวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลแอลกอฮอล์ในการล้างมือ

เตรียมตัวสำหรับรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลัง

คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังรับวัคซีน

  • หลังฉีดวัคซีนเจ้าหน้าที่จะให้นั่งประจำที่เพื่อรอดูและประเมินอาการอีก 30 นาทีหากไม่มีอาการแพ้หรืออาการผิดปกติใดๆก็สามารถกลับบ้านได้
  • ไม่ใช้แขนข้างที่ฉีดวัคซีนในการยกของหนักเป็นเวลาประมาณสองวันหลังจากฉีด
  • หากมีอาการไข้หรือปวดจนทนไม่ไหวสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ดได้ และหากจำเป็นต้องทานซ้ำให้ห้างกันครั้งละ 6 ชั่วโมง
  • ห้ามกินยา Brufen, Arcoxia, Celebrex โดยเด็ดขาด

“หากผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือต้องทานยาชนิดใดเป็นประจำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีนจะดีที่สุด”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะประชาชนจำนวนมากที่จะมีความต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ยังควรต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ การป้องกันตัวเองตามมาตรการ DMHTTA 

มาตรการ DMHTTA

ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของอนามัยโพล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่อไปในที่สาธารณะ ถึงร้อยละ 97.8 รองลงมาคือการวัดไข้ก่อนเข้าไปในสถานที่ต่างๆ ถึงร้อยละ 95.2 และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ จำนวนร้อยละ 91 แต่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ประชาชนยังค่อนข้างละเลยหรือไม่ค่อยปฏิบัติตามมาตรกา รคือ การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม โดยมีผู้ปฏิบัติเพียง ร้อยละ 69.3 นอกจากนี้การลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” มีจำนวนร้อยละ 70.2 จึงต้องเน้นย้ำให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

Resorces; 

บทความที่น่าสนใจ