หลังจากที่ทางกระทรวงสาธารณสุขเสนอ 5 มาตรการต่อ ศบค. ในการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ที่กำลังระบาดกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย หนึ่งในมาตรการควบคุมการระบาด นั่นก็คือ การนำ Rapid Antigen test หรือ ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน เข้าใช้งานตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งสามารถรู้ผลได้ภายใน 30 นาที หลายคนคงสงสัยว่า ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน คืออะไร? ทำงานอย่างไร? วันนี้ thatsmatter.com จะพาทุกคนไปรู้จักกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
Rapid Antigen Test คือ ชุดทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นการใช้ตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นในการตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกัน ถ้าผลตรวจออกมาเป็นบวกก็ต้องตรวจซ้ำอีกครั้งจากห้องปฏิบัติการ (RT-PCR)
***การตรวจเชื้อไวรัส (Antigen) ต้องรับเชื้อมาแล้ว 5 – 14 วัน ถึงจะตรวจได้ผลที่แม่นยำ
ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน
ก่อนทําการทดสอบด้วย Rapid Antigen Test
- พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อน 30 นาที ในการทำการทดสอบ เพราะอาจส่งผลต่อผลลัพธ์
- อ่านคําแนะนําอย่างละเอียด
- ทําความสะอาดพื้นผิวที่คุณใช้ในการทําการทดสอบ
- ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งใดในชุดทดสอบเสียหาย
- เริ่มการทดสอบภายใน 30 นาทีหลังจากเปิดชุดทดสอบ
ก่อนที่จะทำการ Swab :
- อ่านคําแนะนําในชุดทดสอบ
- ล้างมือด้วยสบู่หรือใช้เจลล้างมือ
- วางอุปกรณ์ที่จะทดสอบทั้งหมดบนพื้นผิวที่สะอาด
- เติมน้ำยา Antigen ลงในหลอดในชุดทดสอบที่ให้มาและปิดฝา
- เป่าจมูกของคุณ เพื่อทำการนำสิ่งที่แปลกปลอมออกจากจมูก
- ล้างมืออีกครั้ง
ขั้นตอนของการทำ Swab :
จับที่ก้านสวอป ห้ามจับที่สำลีโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนได้


- เปิดปากของคุณให้กว้างและถูไม้ Swab บริเวณต่อมทอนซิลของคุณ หลีกเลี่ยงไม่ให้ไม้ swab สัมผัสกับฟัน ลิ้นและเหงือกของคุณ
- ใช้ไม้ swab อันเดียวกันนี้วนเข้าไปในโพรงจมูกของคุณ (ประมาณ 2.5 ซม. ขึ้นไป หรือจนคุณจะรู้สึกถึงแรงต้านทานบางอย่างที่ไม่สามารถแหย่ได้) 5 รอบ
แต่บางชุดทดสอบระบุให้ใช้กับโพรงจมูกเท่านั้น:
- ใช้ไม้ Swab วนเข้าไปในโพรงจมูกของคุณ (ประมาณ 2.5 ซม.)
เสร็จสิ้นการทดสอบ:



- ใส่ปลายไม้ Swab ลงในหลอดที่มีน้ำยา antigen อยู่
- ใช้นิ้วบีบและหมุนไม้ Swab อย่างน้อย 5 รอบ ก่อนที่จะนำไม้ swab ออกมา แล้วปิดฝาหลอดด้วยจุก
- หยดน้ำยาในลงในช่องตลับทดสอบตามจำนวนหยดที่ชุดตรวจกำหนด รอประมาณ 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับชุดทดสอบของคุณ)
อ่านผลลัพธ์ของคุณ



ผลตรวจเป็นลบ (Negative Result)
ผลตรวจเป็นบวก (Positive Result)
ผลตรวจเป็นโมฆะหรือเกิดการผิดพลาด (Void Result)
อย่าทิ้งชุดทดสอบไว้นานกว่าเวลาที่กำหนดไว้ในคําแนะนําชุดทดสอบ เนื่องจากอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ได้
การอ่านและแปลผลการทดสอบ ให้สังเกตที่เส้นตัว C ในตลับทดสอบก่อน
หากเส้นไม่ขึ้น เท่ากับว่าวิธีการตรวจไม่ถูกต้อง ต้องหาชุดตรวจใหม่มาตรวจ
แต่ถ้าเส้นตัว C ขึ้น แสดงว่าทำถูกต้อง
จากนั้นให้ไปอ่านค่าที่ตัว T ถ้ามีเส้นปรากฏ แสดงว่าผลเป็นบวก มีโอกาสติดเชื้อไวรัส
ถ้าเส้นไม่ขึ้น หมายความว่า ผลเป็นลบ
ในปัจจุบันนี้ความต้องการชุดตรวจเร่งด่วน มีมากขึ้น ดังนั้นต้องเลือกซื้อผ่านการรับรองจาก อย. โดยให้ขายได้เฉพาะ
– สถานพยาบาลของรัฐ
– โรงพยาบาลทั่วไป
– โรงพยาบาลเฉพาะทางคลินิกเวชกรรม
– คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม
– คลินิกเทคนิคการแพทย์ หรือสหคลินิก
การใช้ชุดทดสอบแบบเร่งด่วนมีความแม่นยําเพียงใด?
การใช้ชุดทดสอบแบบเร่งด่วนมักจะให้ผลลัพธ์ภายในไม่กี่นาทีและไม่จําเป็นต้องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงเกิดการได้รับผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้
จากการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม 2021 ได้ตรวจสอบผลการศึกษาความแม่นยำในการทดสอบ 64 รายงาน เพื่อประเมินการทดสอบแอนติเจน
นักวิจัยพบว่าความแม่นยำของการทดสอบแตกต่างกันมาก โดยมีผลการวิจัยดังนี้
ความแม่นยำสําหรับผู้ที่มีอาการ COVID-19
สําหรับผู้ที่มีอาการของ COVID-19 การทดสอบให้ผลบวก อย่างถูกต้องโดยเฉลี่ย 72 เปอร์เซ็นต์
ความแม่นยำสําหรับผู้ที่ไม่มีอาการ COVID-19
นักวิจัยพบว่าคนที่ไม่มีอาการ COVID-19 การทดสอบให้ผลบวก อย่างถูกต้องใน 58.1 เปอร์เซ็นต์ของการทดสอบ
ความถูกต้องในช่วงสัปดาห์แรกของอาการเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่สอง
ชุดทดสอบอย่างเร่งด่วนให้ผลลัพธ์ COVID-19 การทดสอบให้ผลบวกในช่วงสัปดาห์แรกของอาการ นักวิจัยพบว่าชุดทดสอบอย่างเร่งด่วนระบุผล COVID-19 อย่างถูกต้องโดยเฉลี่ย 78.3 เปอร์เซ็นต์ ของกรณีในช่วงสัปดาห์แรก
ส่วนในสัปดาห์ที่สองค่าเฉลี่ยลดลงเหลือ 51 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ได้มีการทำการลดลองเรื่องผลยี่ห้อชุดทดสอบโควิดอย่างเร่งด่วน ว่าแต่ละยี่ห้อให้ผลความแม่นยำอย่างไรบ้าง ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในรายงานฉบับนี้
มีโอกาสหรือไม่ที่ชุดทดสอบอย่างเร่งด่วนให้ผลบวกผิดพลาด?
การทดสอบอย่างรวดเร็วไม่ค่อยให้ผลบวกที่ผิดพลาด
ในเดือนมีนาคม 2021 การทบทวนการศึกษา พบว่าการทดสอบอย่างรวดเร็วให้ผลลัพธ์ บวก COVID-19 อย่างถูกต้องใน 99.6 เปอร์เซ็นต์ (ของคน)
Resources;
How to do a coronavirus (COVID-19) rapid lateral flow test at home – GOV.UK (www.gov.uk)